เรื่อง นาฏศิลป์ไทย

ประวัตินาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรำ และดนตรี อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วย ศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้อง ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทจยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน





ประวัติโขนต่างๆ

ประวัติโขนต่างๆ


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณ ประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 16" ทั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง "รามายณะ" จากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง และจากตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล โขนแต่เดิมจึงมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ คนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้ จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่พวกที่ฝึกหัดโขนมักเป็นมหาดเล็กหรือบุตรหลานข้าราชการ ต่อมามีความนิยมที่ว่าการฝึกหัดโขนทำให้ชายหนุ่มที่ได้ฝึกหัดมีความคล่องแคล่วว่องไวในการรบหรือต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการพระราชทานอนุญาตให้เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองฝึกหัดโขนได้ โดยคงโปรดให้หัดไว้แต่โขนผู้ชายตามประเพณีเดิม เพราะโขน และละครของเจ้านายผู้สูงศักดิ์หรือข้าราชการก็ต้องเป็นผู้ชายทั้งนั้น ส่วนละครผู้หญิงจะมีได้แต่ของพระมหากษัตริย์ ด้วยเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาภายหลังความนิยมโขนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากระยะหลังเจ้าของโขนมักเอาคนพวกลูกหมู่ (หมายเหตุ : คนที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมต่างๆตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณ ซึ่งจัดแบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็นมณฑล คนในมณฑลไหนก็สังกัดเข้ามณฑลนั้น เมื่อมีลูกก็ต้องให้เข้ารับราชการในหมวดหมู่ของกรมเมื่อโตขึ้น เรียกว่า “ลูกหมู่”) และลูกทาสมาหัดโขน ทำให้ผู้คนเริ่มมองว่าผู้แสดงเหล่านั้นต่ำเกียรติ อีกเหตุผลหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงประเพณีโบราณในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมรพระราชปรารภว่า “มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน” พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ แต่ก็ทำให้เจ้าสำนักต่างๆพากันเปลี่ยนผู้แสดงจากชายเป็นหญิงจำนวนมาก ยกเว้นบางสำนักที่นิยมศิลปะแบบโขน ทั้งยังมีครูบาอาจารย์ และศิลปินโขนอยู่ก็รักษาไว้สืบต่อมา โขนในสำนักของเจ้านาย ขุนนาง และเอกชนจึงค่อยๆสูญหายไป คงอยู่แต่โขนของหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 บรรดาโขนหลวงที่มีอยู่ก็มิได้ทำงานประจำ ใครเล่นเป็นตัวอะไรทางราชการก็จ่ายหัวโขนที่เรียกกันว่า "ศีรษะครู" ให้ประจำตัวไปบูชา และเก็บรักษาไว้ที่บ้านเรือนของตน เวลาเรียกตัวมาเล่นโขนก็ให้เชิญหัวโขนประจำตัวนั้นมาด้วย


ประวัติของรําวงมาตรฐาน

ประวัติและที่มารำวงมาตรฐาน ในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า “รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันในบางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำโทน” สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่งกายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำนองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้แต่งบทร้องและทำนอง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน” คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงามประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกาย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมารำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำและการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของไทย วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ “รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง” เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong) แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน” สืบมาจนถึงปัจจุบัน คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิงไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืนเดือนหงาย คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบ เครื่องดนตรี เดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลงแทน มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลากหลายแบบเช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้าน คือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยที่ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาว หรือชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้ เนื้อเพลง เพลงงามแสงเดือน (ใช้ท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา) งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ) เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย เพลงชาวไทย (ใช้ท่ารำ ท่าชักแป้งผัดหน้า) ชาวไทยเราเอย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่ การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้ เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์ เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย เพลงรำซิมารำ (ใช้ท่ารำ ท่ารำส่าย ) รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก ยามงานเราทำงานกันจริง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์ ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์ ตามเยี่ยงอย่างตามยุค ล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย เพลงคืนเดือนหงาย (ใช้ท่ารำท่าสอดสร้อยมาลาแปลง) ยามกลางเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา เย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (ใช้ท่ารำ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ ) ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภ ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ รูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย เพลง ดอกไม้ของชาติ (ใช้ท่ารำ ท่ารำยั่ว) (สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ) เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์ ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม (สร้อย) งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ (สร้อย) เพลงหญิงไทยใจงาม (ใช้ท่ารำท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง) เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม ขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติ รูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนาม เกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคาม หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า (ใช้ท่ารำ ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลด ) ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่ จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย เพลงยอดชายใจหาญ (ใช้ท่ารำชะนีร่ายไม้ และท่าจ่อเพลิงกาฬ) โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี น้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติ แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ เพลงบูชานักรบ (เที่ยวแรก ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำขัดจางนาง ฝ่ายชายใช้ท่ารำจันทร์ทรงกลด (เที่ยวที่สอง ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำท่าล่อแก้ว ฝ่ายชายใช้ท่ารำท่าขอแก้ว ) น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ น้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต เลือดเนื้อที่พลีอุทิศ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คุณครูเฉลย ศุขะวณิช



ประวัติคุณครูเฉลย  ศุขะวณิช
ครูชำนาญการพิเศษ สาขานาฏศิลป์ไทย (โขนยักษ์)วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
วันที่    พฤศจิกายน ๒๕๕๒    นักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปทุกคน เมื่ออ่านประวัติรำ ระบำ หรือฟ้อน ที่อยู่หนังสูตร มักจะพบชื่อของครู ๒ ท่าน คือ คุณครูเฉลย  ยมุปต์ (พระ) และคุณครูเฉลย  ศุขะวณิช (นาง) อยู่เสมอๆ คุณครูทั้ง ๒ ท่านถือได้ว่าเป็นผู้วางรากฐานให้วิทยาลัยนาฏศิลป จนมีความแข็งแกร่งด้านวิชาการนาฏศิลป์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน คนในวงการนาฏศิลปต่างเรียนคุณครูทั้ง ๒ ท่านว่า แม่ทุกครั้ง เพราะท่านเปรียบประดุจ แม่คนที่สองของศิษย์เก่านาฏศิลปทุกแห่งทั่วประเทศ
กำเนิด                คุณครูเฉลย  ศุขะวณิช หรือ แม่เหลยของลูกศิษย์นาฏศิลปทั่วประเทศ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๔๗ (ท่านอายุมากกว่าคุณครูลมุล ๑ ปี) เป็นบุตรีของนายเงินและนางเน้ย แต้สุข  ชื่อเดิมท่านชื่อกิมฮวย
การศึกษา                เมื่อเติบโตพอสมควร บิดามารดานำไปฝากเรียนวิชาสามัญในชั้นประถม ณ โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้าน  ต่อมาอายุประมาณ ๗ ปี พ่อ-แม่ท่านแยกทางกัน คุณแม่ได้นำลูกสาวมาเลี้ยงดูเอง โดยอยู่ในความอุปการะของคุณหญิงจรรยายุทธกิจ (เอี่ยม  ไกรฤกษ์) น้องสะใภ้ของคุณท้าวนารี วรคณารักษ์  พระอภิบาล (ปกครอง) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เจ้าของวังสวนกุหลาบ ซึ่งคุณท้าวนารี วรคณารักษ์ นี้  เป็นผู้ควบคุมดูแลนางละครวังสวนกุหลาบด้วย  คุณครูเฉลย ต้องการฝึกละครวังสวนกุหลาบ แต่แม่ไม่อนุญาต จึงหนีตามคุณท้าวฯ เข้าวังมา ขณะนั้นมีเด็กหญิงมาฝึกละครเป็นรุ่นแรก ประมาณ ๑๕๐ คน ได้เบี้ยเลี้ยงคนละ ๓ บาทต่อเดือน 
                วิธีการฝึกหัดละครของวังสวนกุหลาบ อาจารย์ประเมษฐ์ บุณยะชัย ได้ทำการสัมภาษณ์ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูเฉลย  ศุขะวณิช ไว้ว่า
 ๐๕.๐๐น.              -รำเพลงช้า เพลงเร็ว
-จบแล้ว ผู้ฝึกหัดเป็นตัวพระจะแยกไปเต้นเสา (ฝึกหัดเพื่อให้มีกำลังขาแข็งแรง) ตัวนางฝึกหัดรำเพลงเชิดฉิ่ง
-ตัวพระไปฝึกหัดแม่ท่ายักษ์ ตัวนางฝึกหัดแม่ท่าลิง
๐๗.๐๐ น.             -พัก อาบน้ำ
๐๘.๐๐ น.             -รับประทานอาหารเช้า
๐๙.๐๐ น.              -เริ่มเรียนวิชาสามัญ
  (เป็นวิธีการที่แปลกใหม่ เพราะละครหลวงสมัยโบราณไม่มีการสอน
   วิชาสามัญ เน้นเรื่องการอ่าน การเขียน เพื่อให้อ่านบท จดบทได้)
๑๒.๐๐ น.            -พักกลางวัน
๑๓.๐๐ น.             -ซ้อมการแสดงทั้งโขน-ละคร   (ฝึกหัดรำตามบทบาทต่างๆ)
๑๖.๐๐ น.             -พักผ่อน อาบน้ำ รับประทานอาหารเย็น
๒๐.๐๐ น.             -ซ้อมเฉพาะบทหรือซ้อมเข้าเรื่อง
๒๐.๐๐ น.             -รับประทานอาหาร อาบน้ำ เข้านอน
ท่านครูของคุณครูเฉลย  ศุขะวณิช
คุณท้าวนารี วราคณารักษ์ หม่อมครูอึ่ง   หม่อมครูนุ่ม หม่อมครูแย้ม (อิเหนา) คุณครูหงิม          ท้าววรจันทร์ฯ (เจ้าจอมมารดาวาด อิเหนา)  เจ้าจอมมารดาเขียน  เจ้าจอมมารดาทับทิม  เจ้าจอมมารดาสาย เจ้าจอมละม้าย พระยานัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)
วิชาการด้านนาฏศิลป์ที่ได้รับถ่ายทอดจากท่านครูวังสวนกุหลาบเชิดฉิ่งศุภลักษณ์แบบเต็ม  ศุภลักษณ์อุ้มสม  ศุภลักษณ์วาดรูป  ฝรั่งคู่ (พระอุณรุท-นางอุษา พระอรชุน-เมขลา อุณากรรณ-มะลาหรา) ฉุยฉายวันทองแบบเต็ม  ฉุยฉายเบญกาย  ฉุยฉายศูรปนขา  ฉุยฉาย     ยอพระกลิ่น   ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง (สองนางเนื้อเหลือง) เบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง  เมขลานั่งวิมาน-เชิดฉิ่งเมขลา กริชดรสา (ดรสาแบหลา) บุษบาชมศษล วิยะดาทรงเครื่อง รจนาเลือกคู่ 
การแสดงเป็นตัวนางขณะอยู่วังสวนกุหลาบ
ละครใน
เรื่อง อิเหนา                         แสดงเป็น              มะเดหวี  ดรสา
เรื่อง อุณรุท                          แสดงเป็น              นางศุภลักษณ์
เรื่อง รามเกียรติ์                   แสดงเป็น              ชมพูพาน
ละครนอก
เรื่อง สังข์ทอง                      แสดงเป็น              นางมณฑา นางจันทร์
เรื่อง สังข์ศิลป์ไชย              แสดงเป็น              นางเกสรสุมณฑา
เรื่อง คาวี                               แสดงเป็น              นางเฒ่าทัศประสาท นางคันธมาลี
เรื่อง พระอภัยมณี               แสดงเป็น              นางวารี นางสุวรรณมาลี
เรื่อง เงาะป่า                         แสดงเป็น              นางฮอยเงาะ
             
ย้ายมาอยู่วังเพชรบูรณ์
                เมื่อคุณครูเฉลย อายุประมาณ ๑๖-๑๗ ปี (พ.ศ.๒๔๖๓-๖๔) ได้ย้ายออกจากวังสวนกุหลาบมาอยู่    วังเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก  กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (สร้างเสร็จ พ.ศ.๒๔๖๒) คุณครูเฉลยมีหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมตัวละครน้องๆ ซึ่งมี ๔ หมู่ๆ ละ ๓๐ คน  ขณะนี้คุณครูเฉลยถือว่าเป็นข้าหลวงละครรุ่นใหญ่แล้ว เช่นเดียวกับคุณครูลมุลตัวละครในวังเพ็ชรบูรณ์จะต้องซ้อมละครทุกวัน ในเวลา ๒๐.๐๐ น. สมเด็จฯ จะเสด็จทอดพระเนตรการฝึกซ้อมละครแทบทุกคืน ตรัสเรียกซ้อมชุดใดๆ ก็ต้องได้ การฝึกซ้อมมากจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวละครจดจำท่ารำได้แม่นยำ  สถานที่ที่ใช้ในการฝึกซ้อมละคร คือ ใต้ถุนของเรือนกินกรรำ ในระหว่างซ้อม มีอาหารว่างเลี้ยงทุกคน และจะทำการซ้อมจนถึงเที่ยงคืนละครวังเพชรบูรณ์อยู่ได้ ๓-๔ ปี ก็เลิกล้ม เพราะทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ สิ้นพระชนม์  (พ.ศ.๒๔๖๖) ขณะพระชนมายุเพียง  ๓๑  พรรษา 
ชีวิตสมรส            คุณครูเฉลย  สมรสกับพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวณิช) มีบุตร-ธิดา ๔ คน
รับราชการพ.ศ.๒๕๐๐  คุณครูเฉลย อายุได้ ๕๓ ปี คุณครูลมุล ได้ชักชวนให้ท่านมาเป็นครูสอนละครนาง ณ โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน) เพื่อสอนแทนหม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก) ซึ่งถึงแก่กรรม
คุณครูเฉลย ได้สร้างคุณูปการมากมายให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และวงการนาฏศิลป์ไทย จนได้รับการยกย่องเป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๐
สิ่งที่นับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดของชีวิตความเป็นครูของคุณครูเฉลย  ศุขะวณิช คือ การได้ถวายการสอนแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านรับราชการจนเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ และได้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร จนสิ้นอายุของท่าน เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๔  รวมอายุท่านได้   ๙๖   ปี
ผลงาน
ก.     ผลงานด้านการถ่ายทอด
      รำกริชดรสา (ดรสาแบหลา)  รำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์  รำศุภลักษณ์อุ้มสม  รำฝรั่งคู่  รำฉุยฉายวันทอง  รำฉุยฉายเบญกาย  รำฉุยฉายศูรปนขา  รำฉุยฉายยอพระกลิ่น   รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง (สองนางเนื้อเหลือง) รำเชิดฉิ่งเมขลา  รำเมขลา-รามสูร รำรจนาเสี่ยงพวงมาลัย
 ข.     ผลงานด้านการสร้างสรรค์
              รำหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก  ระบำเทพนพเคราะห์  ระบำอยุธยา  ฟ้อนชมสวน   ฟ้อนลาวสมเด็จ  ฟ้อนชมเดือน  ระบำเทพอัปสร  ฉุยฉายนาฏศิลป์  ระบำทวาราวดี  ระบำศรีวิชัย  ระบำลพบุรี  ระบำเชียงแสน  ระบำฉิ่ง  ระบำกรับ  ฟ้อนแคน  เซิ้งสัมพันธ์  ลำหับชมป่า  รำราชสดุดีจักรีวงศ์  ระบำมิตรไมตรีญี่ปุ่น-ไทย  ระบำสตวาร  รำพราหมณีถวายพระพร  ระบำศรีชยสิงห์  ระบำเทพประชุมพร  ระบินรี-กินรา ระบำงู ระบำดอกบัวขาว  ระบำไตรรัตน์  ระบำธรรมจักร  ระบำนก (ตับภุมริน)  ระบำเบิกโรงเรื่องนางสงกรานต์  ระบำมิตรไมตรี  ระบำแม่โพสพ  รำกิ่งไม้เงินทองถวายพระพร  รำโคมบัวถวายพระพร  รำฉัตรมงคลศิรวาท       รำพัดรัตนโกสินทร์   รำแม่บทสลับคำ  รำสวัสดิรักษา  เซิ้งสราญ  ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง    ฟ้อนมอญ  ระบำขอม  ระบำจีนเก็บบุปผา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น